2 พ.ค. 2556

สุภาษิต คำพังเพย สำนวนไทย





กงกํากงเกวียน
ใช้เป็นคําอุปมาหมายความว่า เวรสนองเวร, กรรมสนองกรรม, เช่น ทําแกเขาอย่างไร  ตนหรือลูกหลานก็อาจจะถูกทําในทํานองเดียวกันอย่างนั้นบ้างเป็นกํากงเกวียน

กรวดน้ำคว่ำกะลา, กรวดน้ำคว่ำขัน
ตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย

กระดังงาลนไฟ
หญิงที่เคยแต่งงานหรือผ่านผู้ชายมาแล้ว ย่อมรู้จักชั้นเชิงทางปรนนิบติและเอาอกเอาใจผู้ชายได้ดีกว่าหญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน

18 เม.ย. 2556

สำนวนไทย สุภาษิต คำพังเพย "กบเลือกนาย"

สำนวนไทย  สุภาษิต  คำพังเพย

กบเลือกนาย
กบเลือกนาย

          กบเลือกนาย

          คนช่างเลือก  เลือกจนตัวเองเดือดร้อน
          สำนวนนี้มาจากนิทานอีสปเรื่อง  กบเลือกนาย  ซึ่งเล่าว่า  กบขอให้เทวดาส่งนายลงมาให้  เทวดาส่งขอนไม้ลงมา  แต่กบเลือกมาก  เทวดาจึงส่งนกกระสาซึ่งชอบกินกบลงมาให้  นกกระสาจึงกินกบจนหมด

4 เม.ย. 2556

สำนวนไทย สุภาษิต คำพังเพย "ก้นหม้อไม่ทันดำ"

สำนวนไทย  สุภาษิต  คำพังเพย



           ก้นหม้อไม่ทันดำ

           อยู่กินกันฉันสามีภรรยาไม่นานก็ทะเลาะวิวาทหรือหย่าร้างกัน
           คนสมัยก่อนใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงหุงต้มอาหาร  จึงมีเขม่าจับก้นหม้อ  คู่สามีภรรยาที่เพิ่งตั้งครอบครัวได้ไม่นาน  ก้นหม้อมักไม่ทันมีเขม่าจับ

27 มี.ค. 2556

สำนวนไทย สุภาษิต คำพังเพย "กงเกวียนกำเกวียน"

สำนวนไทย  สุภาษิต  คำพังเพย



          กงเกวียนกำเกวียน

          สิ่งที่เกิดตามกันมา
          เกวียนเป็นพาหนะที่ใช้กันทั่วไปในสมัยก่อน  กงเกวียนเป็นส่วนรอบล้อเกวียน  กำเกวียนเป็นซี่ล้อมีดุมเป็นส่วนกลางของล้อที่มีรูสำหรับสอดเพลา  เมื่อกงเกวียนหมุนไปทางใด  กำเกวียนก็หมุนไปด้วย
          สำนวนนี้ใช้เปรียบกับการกระทำของมนุษย์  ว่าผู้ใดทำกรรมอย่างใดไว้ย่อมได้รับผลกรรมนั้น  มีความหมายเช่นเดียวกับสำนวน  "วัวของใครเข้าคอกคนนั้น"

3 มี.ค. 2556

สำนวนไทย สุภาษิต คำพังเพย "ก ข ไม่กระดิกหู"

สำนวนไทย  สุภาษิต  คำพังเพย



          ก ข ไม่กระดิกหู

          ไม่รู้หนังสือ  ฟังไม่เข้าใจ  อ่านไม่ออก  เขียนไม่ได้
          ก  ข  โบราณอ่านว่า  กอข้อ  หมายถึงพยัญชนะ  ก ถึง ฮ  สำนวนนี้จึงควรพูดว่า  "กอข้อไม่กระดิกหู"  กาญจนาคพันธุ์อธิบายว่า  กระดิก  หมายถึง  รู้  ดังที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยทรงใช้ว่า  "นอกนั้นถึงพัชนี [พัด]  ทำขึ้นก็เป็นแต่สำหรับถวายพระสงฆ์  เพราะพระสงฆ์ยังคงชอบใจว่าเครื่องประดับสำหรับยศผู้ใหญ่  ไม่กระดิกเลยจนเท่าทุกวันนี้"

17 ก.พ. 2556

สำนวน สุภาษิต คำพังเพย สะท้อนวิถีชีวิตของคนสมัยก่อน


        การศึกษา สำนวน  คำพังเพย  สุภาษิต  ของไทย  ทำให้เราทราบถึง  ประวัติศาสตร์หรือความเป็นมาของชาติ  วัฒนธรรม  ประเพณี  ศาสนา  การกินอยู่  ความรู้สึกนึกคิด  เช่น  ความจงรักภักดี  ความอ่อนโยน  ความประนีประนอม  ความเคารพผู้ใหญ่  ความประสานประโยชน์  การให้อภัย  การอยู่ร่วมกันอย่างมีไมตรี  ฯลฯ  เรื่องเหล่านี้ทำให่เรามีความกว้างขวางขึ้นและสนุกสนานต่อการอ่านเรื่องเก่า  เพราะทำให้เข้าใจถึงสภาพความเป็นจริงของสังคมสมัยนั้นๆ เช่น
        ประวัติศาสตร์ - ศิลาจารึก  กฎหมายตราสามดวง  พงศาวดาร  ทำให้เกิดสำนวนไทยไว้มาก  ดัง

  • ในน้ำมีปลา  ในนามีข้าว  
  • ไพร่ฟ้า  หน้าใส  
  • บ้านท่านเคยอยู่  อู่ท่านเคยนอน  
  • ผัวหาบเมียคอน  
  • ลูกขุนพลอยพยัก